รั้วไฟฟ้าคืออะไร ?

รั้วไฟฟ้าคืออะไร?

รั้วไฟฟ้า คือ ระบบป้องกันภัยในรูปแบบวัตถุที่มองเห็น เป็นรูปร่างชัดเจน โดยเป็นการยับยั้ง ป้องปราม และ ป้องกัน มิให้ผู้บุกรุก คนร้ายปีนเข้ามาในสถานที่ โดยการปล่อยพลังงานแรงต่ำ (หน่วยเป็น จูล) แต่แรงดันไฟฟ้าแรงสูงแบบตรง DC (หน่วยเป็นโวลต์) ไปยังเส้นลวดที่ถูกตรึงไว้ตามแนวป้องกัน โดยเครื่องสร้างพลังงาน (Energizer) จะควบคุมการปล่อยพลังงานไปยัง ลวดทุกๆ 1 วินาที หากมี คนร้าย พยายามบุกรุกหรือไปสัมผัสโดนลวดไฟฟ้าก็จะเกิดปฏิกิริยา (Reflex Action) คือ กล้ามเนื้อเกิดการหดตัวอย่างรุนแรง ชัก สะดุ้ง ชา บริเวณที่สัมผัส แต่จะไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด

สิ่งที่ต้องพิจารณาในการเลือกซื้อ ระบบรั้วไฟฟ้า 
1. ค่าความสามารถในการปลดปล่อยพลังงาน ต่อ โหลดความต้านทาน 500 โอมห์ ( ค่าความต้านทานของคนโดยเฉลี่ย ) ซึ่งจะแจ้งหน่วยเป็น จูล (J หรือ Joule) มีตั้งแต่ 3.7 ถึง 7.6 จูล
2. แรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 7,000V-10,000 โวลต์
3. มาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้า IEC 60355-2-76 และ CISPR 14 และ EN 6100 การแพร่กระจายของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะต้องไม่รบกวนอุปกรณ์การสื่อสาร เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
4. ระบบ APT ( Adaptive Power Technology ) ช่วยปรับลดระดับพลังงานให้เหมาะสมเมื่อตรวจพบการรั่วไหลของพลังงาน เช่น เกิดการ ARC ระหว่างลวดไฟบวก และ ลบ หรือ เกิดการพาดสัมผัสของกิ่งไม้ ไม้เลื้อย ป้องกันการเสียหายของระบบ 
5. แจ้งเตือนทางเสียงและแสงเมื่อเกิดการบุกรุก เช่น ตัดลวด ช๊อตลวด ลัดวงจร

" พลังงานต่ำ จูล (Joule) "

คือพลังงานจลน์ที่ถูกกักเก็บไว้ ในตัวเก็บประจุ Capacitor หรือ Cap Bank แล้วปล่อยพลังงานออกในระยะเวลาสั้นๆ ความรู้สึกกล้ามเนื้อหดตัวรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับพลังงานนี้ เช่น เดียวกับเครื่องปั๊มหัวใจ (Defibrillator) ที่ใช้ในการแพทย์ เพื่อช่วยเหลือชีวิต ที่มีค่าหน่วยการปรับระดับตั้งแต่ 5 จูล-350 จูล จึงเป็นคำตอบว่า "ไม่ทำให้ใครตาย หรือ บาดเจ็บ"

" แรงดันไฟฟ้าแรงสูง โวลต์ (Volt) "

เป็นแรงดันเพื่อให้พลังงานเคลื่อนที่ไปได้ ใกล้ หรือ ไกล ไม่ใช้ตัวบงชี้ถึงความรุนแรงของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแต่ประการใด เช่น ลวดตัวนำไฟฟ้าชนิด สแตนเลส ขนาด 1.2 มิลลิเมตร หากใช้แรงดันไฟฟ้า 9000 โวลต์ สามารถ เดินทางได้ไกล 800 เมตร หากเป็นลวดชนิดอลูมิเนียมที่มีความต้านทานที่ต่ำกว่าจะทำให้เดินทางได้ไกลถึง10 กิโลเมตร

" IEC "( Internationnal Electrotechique Commission )

คณะกรรมมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็คทรอเทคนิค เป็นองค์กรอิสระที่ร่วมมือกันจัดตั้งเพื่อกำหนดมาตรฐานด้านไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิค และทำการจัดทำแบบการประเมินเพื่อการรับรองคุณภาพ จัดตั้งขึ้นในปี พศ. 2449 1ประเทศจะมีกรรมการแห่งชาติ1ชุด โดยในประเทศไทย กรรมาธิการที่เข้าร่วมกับ IEC คือ สมอ. หรือ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 

 

 

 

" CISPR 14 และ EN 6100 "

การแพร่กระจายของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะต้องไม่รบกวนอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิคส์ และ เครื่องมือสื่อสาร

ไดอะแกรมแสดงการทำงานของเครื่องกำเนิดพลังงาน (Engizer)